วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างจีน-อาเซียนพัฒนารวดเร็ว




ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างจีน-อาเซียนพัฒนารวดเร็ว

                     ปี 2011 เป็นวาระครบรอบ 20 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์คู่เจรจาจีน-อาเซียน ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จีนในฐานะประเทศนอกภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประเทศแรกที่ได้เข้าร่วม สนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศแรกที่ได้สร้างความสัมพันธ์ฉันหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับอาเซียน เป็นประเทศแรกที่ได้สร้างเขตการค้าเสรีกับอาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นประเทศแรกที่ลงนามในพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่อย่างมีประสทิธิผล จากนี้จะเห็นได้ว่า เมื่อเทียบกับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศอื่น ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-อาเซียนเป็นความสัมพันธ์ที่มุ่งสู่ความเป็นจริงมากที่สุด มีขอบเขตกว้างขวางที่สุด และประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
                      สาเหตุที่จีน-อาเซียนประสบความสำเร็จมากถึงขนาดนี้เป็นผลจากความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่กันในสถานการณ์ใหม่ โดย ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และการค้าเป็นพลังสำคัญที่ขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายให้คืบหน้า และประสบความสำเร็จมาก
                      ประการแรก มูลค่าการค้าระหว่างจีน-อาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การค้าระหว่างจีน-อาเซียนขยายตัวเฉลี่ยปีละ 20% มูลค่าการค้าระหว่างจีน-อาเซียนในปี 1991 มีเพียง 7,960 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น แต่ในปี 2010 เพิ่มขึ้นถึง 292,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคมของปี 2011 มูลค่าการค้าระหว่างสองฝ่ายสูงถึง 295,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2010 ขยายตัว 25.7% คาดว่ามูลค่าการค้าทั้งปี 2011 จะมากกว่า 350,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 40 เท่าของมูลค่าการค้าในปี 1991 จากนี้จะเห็นได้ว่า จีนและอาเซียนต่างเป็นคู่ค้าสำคัญของอีกฝ่ายหนึ่ง มูลค่าการค้าระหว่างจีน-อาเซียนมีอัตราส่วนในการค้าต่างประเทศของจีนเพิ่มขึ้นจาก 5.9% ในปี 1991 มาเป็น 9.8% ในปี 2010 ปัจจุบัน จีนเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับหนึ่งของอาเซียน ส่วนอาเซียนเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับ 3 ของจีน โครงสร้างการค้าระหว่างสองฝ่ายก็ได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปีหลังๆ นี้ สินค้าระหว่างสองฝ่ายได้เปลี่ยนจากสินค้าเบื้องต้นมาเป็นสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้านิวไฮเทคในการค้าระหว่างกันมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นทุกปี การนำเข้าส่งออกเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าระหว่างจีน-อาเซียน ในปี 2010มีมูลค่ากว่า 110,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 1 ใน 3 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดระหว่างสองฝ่าย


                       ประการที่ 2 การลงทุนระหว่างจีน-อาเซียนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประเทศอาเซียนเป็นแหล่งทุนต่างชาติที่สำคัญของจีน ขณะที่อาเซียนเป็นแหล่งเป้าหมายการลงทุนที่สำคัญที่สุดของบริษัทจีน เมื่อปี 2010 อาเซียนลงทุนในจีนมูลค่า 6,320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 35.2% เมื่อเทียบกับปี 2009 ส่วนจีนลงทุนในอาเซียนมูลค่า 2,570 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 12 % เมื่อเทียบกับปี 2009 ปัจจุบัน จีนเป็นแหล่งเงินทุนจากต่างชาติที่สำคัญที่สุดของพม่า กัมพูชา และลาว ส่วนการลงทุนของจีนในไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไนก็จัดอยู่ในอันดับแนวหน้าของประเทศดังกล่าว รัฐบาลจีนยังรับปากว่า จะสร้างเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าในแต่ละประเทศอาเซียน เพื่อเพิ่มการลงทุนของบริษัทจีนในประเทศอาเซียน ยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าระหว่างสองฝ่ายให้สูงขึ้น เพิ่มการถ่ายโอนเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที พัฒนาทักษะการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมประเทศอาเซียนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
                         ประการที่ 3 ได้สร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนรอบด้านขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคมปี 2010 เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนมีประชากร 1,900 ล้านคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงถึง 6,000,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการค้าต่างประเทศมีกว่า 4,500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 4,000,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก การสร้างเขตการค้าเสรีดังกล่าวขึ้นได้ส่งเสริมการพัฒนาการค้า การลงทุนระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้มีการรวมตัวกันในระดับลึกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ได้บรรลุเป้าหมายที่จะเอื้อประโยชน์แก่กัน ได้ชัยชนะร่วมกัน และมีการพัฒนาร่วมกัน เมื่อปี 2011 มีการจัดตั้งศูนย์กลางจีน-อาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะขยายการค้า การลงทุนระหว่างกันภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เพิ่มการแลกเปลี่ยนระหว่างบริษัทและภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย
                          นอกจากนี้ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จีนได้ให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ในรูปแบบต่างๆ แก่ประเทศอาเซียน โดยได้ช่วยประเทศอาเซียนดำเนินโครงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน และโครงการสาธารณะประโยชน์ทางสังคมรวมทั้งสิ้นกว่า 400 โครงการ ช่วยอบรมบุคลากรด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การเงิน การเกษตร สารสนเทศ การสื่อสาร การคมนาคม การท่องเที่ยวกว่า 9,000 คน ซึ่งได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศอาเซียน





วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ



ข้อมูลของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ


ข้อมูลพื้นฐานของบูรไน

ข้อมูลพื้นฐานกัมพูชา

ข้อมูลพื้นฐานอินโดนิเซีย

ข้อมูลพิ้นฐานลาว

ข้อมูลพื้นฐานมาเลเซีย

ข้อมูลพื้นฐานฟิลิปปินส์

ข้อมูลพื้นฐานสิงคโปร์

ข้อมูลพื้นฐานไทย

ข้อมูลพื้นฐานเวียดนาม

ข้อมูลพื้นฐานพม่า




ก่อนก้าวสู้ประชาคมอาเซียน 2558


 มารู้ ประเทศอาเซียน ก่อนก้าวสู้ประชาคมอาเซียน 2558


 รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน 


        ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

          แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน 

          โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ





1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 



ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ






2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)



เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้



3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

 เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ



4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)



 เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 



5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)



เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ



6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)


เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ



7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)


 เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)



8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ




9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)


เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 



10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

 มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ 




ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

          โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้
                                                        
          1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

           2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

               มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

               ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

               ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

               ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
    
          กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)






3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แนะนำ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน



แนะนำ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน




อาเซียน : เรียนรู้ประเทศพม่า


อาเซียน : เรียนรู้ประเทศอินโดนิเซีย



อาเซียน : เรียนรู้ประเทศเวียดนาม


อาเซียน : เรียนรู้ประเทศมาเลเซีย

                                

อาเซียน : เรียนรู้ประเทศกัมพูชา

                                

อาเซียน : เรียนรู้ประเทศสิงคโปร์

                               

อาเซียน : เรียนรู้ประเทศลาว

                               

อาเซียน : เรียนรู้ประเทศฟิลิปปินส์ 

                              

อาเซียน : เรียนรู้ประเทศบูรไน

                               

อาเซียน : เรียนรู้ประเทศไทย



เปิดโลกวิชา ตอนแนะนำ 10 ประเทศจาก อาเซียน






AEC Club : Part 1


AEC Club : Part 1




AEC Club : Part 2




AEC Club : Part 3




AEC Club : Part 4




AEC Club : Part 5






การตูนอาเชียน




                                                   The ASEAN Community by 2010 

                                  



                                                       การ์ตูนอาเซียน ทูตแห่งการค้าเสรี

                               


                                                        การ์ตูนอาเซียน ควรแนะนำ 2   
                           

                            








วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 7
"ภาษาบอกรัก" ในอาเซียน
     เนื่องในวันแห่งความรัก (14 ก.พ.) หรือวันวาเลนไทน์ เกร็ดความรู้อาเซียน ขอเสนอ “ภาษาบอกรักของประเทศต่างๆ ในอาเซียน และยังสามารถใช้บอกกับทุกคนที่คุณรักได้อีกด้วย  
 ภาษาไทย                 - ฉันรักเธอ 
 ภาษาลาว                 - ข้อยฮักเจ้า
 ภาษาพม่า                - จิต พา เด (chit pa de)
 ภาษาเวียดนาม          - ตอย ยิ่ว เอ๋ม (Toi yue em)
 ภาษาเขมร               - บอง สรัน โอง (Bon sro Ianh oon)
 ภาษามาเลย์              - ซายา จินตามู (Saya cintamu)
 ภาษาอินโดนีเซีย        - ซายา จินตา ปาดามู (Saya cinta padamu)
 ภาษาตากาล็อก          - มาฮัล กะ ตา (Mahal ka ta)
 ภาษาจีนกลาง           - หว่อ อ้าย หนี่ (Wo ai ni)
 ภาษาญี่ปุ่น               - ไอ ชิเตรุ (Ai shiteru)
 ภาษาเกาหลี             - ซารัง แฮโย (Sarang Heyo)







เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 6
เพลงประจำอาเซียน 
“The ASEAN Way”
เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เนื้อร้อง
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Look-in out-ward to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
WE dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
We dare to dream,
We care to share for it's the way of ASEAN.
 เนื้อร้อง ภาษาไทย
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น
หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล
สามารถฟังเพลง The ASEAN Way ได้จาก


เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 5

7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีในประชาคมอาเซียน

            1. แพทย์
            2. ทันตแพทย์
            3. นักบัญชี
            4. วิศวกร
            5. พยาบาล
            6. สถาปนิก
            7. นักสำรวจ



เกร็ดความรู้อาเซียน เรื่องที่ 4

อาเซียน +และ อาเซียน +คืออะไร ? 
อาเซียน +คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 3 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
           1) จีน
           2) ญี่ปุ่น
           3) เกาหลีใต้
อาเซียน +คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
           1) จีน
           2) ญี่ปุ่น
           3) เกาหลีใต้
           4) ออสเตรเลีย
           5) นิวซีแลนด์
           6) อินเดีย